ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ

ปรัชญา


  มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพและคุณธรรม

ปรัชญาประจำศูนย์ภูเก็ต


“ศูนย์การเรียนรู้ คู่คุณธรรม นำทักษะ สู่ชุมชน”

วิสัยทัศน์


        ภายในปี 2571 มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการบริหารจัดการยุคดิจิทัล และผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางวิชาชีพ มีคุณภาพ คุณธรรม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาชาติ

วิสัยทัศน์ประจำศูนย์ภูเก็ต


     มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์  ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต  เป็นศูนย์การเรียนรู้ยุคใหม่ มุ่งพัฒนาท้องถิ่น  โดยขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่บุคลากรในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง  สร้างศักยภาพของศูนย์ฯ  ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  เป็นที่รู้จักและยอมรับจากบุคคลทั่วไป  สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี  มุ่งผลิตบัณฑิต  ที่มีความสมดุล  ด้านความคิด  ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคมตรงตามปรัชญาของศูนย์ฯ  และของมหาวิทยาลัย

พันธกิจ


มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตและพัฒนาศักยภาพของนิสิต ทั้งในด้านวิชาการ ทักษะ คุณธรรม โดยมหาวิทยาลัยมีพันธกิจที่สำคัญ ดังนี้

1. ด้านการผลิตบัณฑิต
การพัฒนานิสิตและบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน มีทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการ สามารถคิดวิเคราะห์และมีความยืดหยุ่นทางความคิด รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษาขึ้นไป(ภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม) มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถแข่งขันบนฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าสามารถบูรณาการความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม สอดแทรกคุณธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ มีวินัย มีสุขภาวะที่ดี และมีจิตสาธารณะนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

2. ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม
การให้ความสำคัญการทำงานวิจัยและนวัตกรรมมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์และบุคลากรใช้องค์ความรู้ใหม่ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับความต้องการของชุมชนสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข และยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อนำผลลัพธ์ของการวิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาการเรียนการสอนและนำไปต่อยอดความรู้ให้แก่นิสิต เพื่อพัฒนากระบวนการทางความคิดและทักษะที่พึงประสงค์ของนิสิตและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยฯ

3. ด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
การสร้างเครือข่ายกับชุมชนเพื่อการส่งเสริมและเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมไทย ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมของไทยและนานาชาติอย่างเหมาะสม เพื่อให้ชุมชนและนิสิตได้ตระหนักถึงรู้คุณค่าและภาคภูมิใจในความเป็นไทย

4. ด้านบริการวิชาการกับชุมชนและสังคม
การสร้างเครือข่ายกับชุมชนและองค์กร ในการให้บริการวิชาการตามความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคม โดยเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสร้างองค์กรแห่งความร่วมมือทางด้านการบริการวิชาการร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือ และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปพัฒนาและบูรณาการกับการเรียนการสอนและหลักสูตรนำสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้แก่บัณฑิต ชุมชน สังคม ประเทศชาติ

5. ด้านการบริหารจัดการและการประกันคุณภาพ
การจัดระบบการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ด้านการจัดการองค์กร การจัดหาทรัพยากรบุคคลทุกระดับ การพัฒนาอาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดโครงสร้างพื้นฐานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี โดยใช้ดิจิทัลเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า มีระบบสารสนเทศที่ส่งเสริมการใช้ข้อมูลในการพัฒนากระบวนการทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงและมีภาพลักษณ์ที่ดี ตลอดจนการพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีระบบประกันคุณภาพ ติดตาม ตรวจสอบประเมิน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง